เอาใจช่วย “น้องพลอย” อาจอดแข่งงานวิทยาศาสตร์ระดับโลก เพราะไร้สัญชาติ

เอาใจช่วย “น้องพลอย” อาจอดแข่งงานวิทยาศาสตร์ระดับโลก เพราะไร้สัญชาติ

หนึ่งในปัญหาสำคัญด้านสังคมและเยาวชนในประเทศไทยซึ่งพบเห็นตามหน้าข่าวหลาย ๆ กรณีคือ เด็กกตัญญู มีความสามารถ ควรส่งเสริมศักยภาพ แต่ติดตรงที่พวกเขาเป็นบุคคลไร้สัญชาติ อย่างกรณีล่าสุดของ “น้องพลอย ยลฤดี” หรือ “Ploy Yonladee Phiyatat” ได้โพสต์เฟซบุ๊กเล่าปัญหาของตนว่า  เกิดและอาศัยในจังหวัดระยอง แต่ไม่ได้รับสัญชาติไทย พลอยเป็นเด็กกิจกรรม มีโอกาสแข่งการพูดสุนทรพจน์ภาคภาษาอังกฤษ (speech contest) มาตั้งแต่ ป.1 แต่ก็ยังคงมุ่งมั่นทำกิจกรรมแข่งขันมาโดยตลอด

กระทั่งล่าสุดถูกเชิญให้ไปเข้าร่วมการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ 

สำหรับโรงเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และ สิ่งแวดล้อม ในผลงานที่ชื่อว่า เครื่องคัดแยกขวดอัตโนมัต ชนะระดับภาคจนทีมได้ผ่านเข้ารอบไปแข่งขันในระดับประเทศ และไปแข่งต่อระดับโลก ชื่อว่า “Genius Olympiad” เป็นโครงการเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม จัดขึ้นในวันที่ 17 มิ.ย. นี้  แต่ปัญหาของพลอยคือพลอยไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศได้เนื่องจากเป็นบุคคลไร้สัญชาติ

พลอยมี 2 ทางเลือก คือให้พิสูจน์สัญชาติไทยแล้วทำพาสปอร์ตออกนอกประเทศไปแข่ง 2.ให้พลอยถูกตัดสิทธิ์ออกจากรายการ เพื่อให้ทีมยังคงไปแข่งต่อในประเทศอเมริกา แต่พลอยเองก็สู้ ได้ยื่นขอT.D. และขอสัญชาติไทยตามกฏข้อที่4 ในเรื่องของทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศ แต่ทางปลัดอำเภอได้แจ้งกับพลอยว่า T.D. ของพลอยไม่สามารถยื่นขอได้ แต่จะส่งให้กระทรวงมหาดไทยเพื่อให้ผู้มีอำนาจตัดสินต่อไปทำให้เอกสารของพลอยถูกส่งไปอย่างล่าช้า ซึ่งเอกสารเดินทางของผู้เข้าแข่งขันทั้งหมดจะถูกส่งภายในวันที่ 1 พค. แต่ด้วยพลอยมีเวลาน้อยในการดำเนินเรื่อง ทำให้ไม่สามารถส่งเอกสารได้ในเวลาที่กำหนดซึ่งตอนนี้พลอยกำลังจะถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน

พลอยขอขอบคุณครอบครัวที่ทำให้พลอยเป็นพลอยในวันนี้ ที่เลี้ยงดูพลอยอย่างดี และสะพานให้พลอยเสมอมาค่ะ ขอขอบคุณอาจารย์และโรงเรียนที่ให้โอกาสกับพลอยมาโดยตลอดไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการแข่งขัน การอบรมสั่งสอนพลอย ขอขอบคุณอาจารย์ปุ๊กกี้ที่เป็นแม่บุญธรรมของพลอยให้การสนับสนุนและดูแลพลอยในทุกๆเรื่องจนถึงตอนนี้ ขอบคุณจังหวัดที่ดำเนินเรื่องให้พลอย ขอบคุณอาจารย์จากบางกอกคลินิกที่คอยช่วยเหลือพลอยและทำให้พลอยกล้าที่จะออกมาพูดในวันนี้ และขอขอบคุณทุกฝ่ายที่ให้กำลังใจพลอยเสมอมา #ด้วยรัก

‘โลหะเหลว’ ที่เราเคยเห็นในหนังคนเหล็ก 2029 อาจไม่ได้อยู่แค่ในนิยายวิทยาศาสตร์อีกต่อไปแล้ว เมื่อกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับ ‘แม่เหล็กโลหะเหลว’ (Magnetic Liquid Metal) ซึ่งทีมนักวิจัยได้ทำการทดลองด้วยธาตุโลหะหลายๆอย่าง เช่น แกลเลียมและอัลลอยหลายชนิด ซึ่งหลังจากที่เพิ่มเติมส่วนผสมของนิกเกิลหรือเหล็ก จะเป็นการเพิ่มคุณสมบัติความยืดหยุ่นให้กับโลหะ ทั้งยืด หด และปั้นเป็นรูปทรงต่างได้ เมื่อใช้ร่วมกับแม่เหล็ก และหากนำแม่เหล็กมาประกบในด้านตรงกันข้ามกัน ผลที่ได้คือสามารถยืดโลหะเหลวจากที่เป็นหยดน้ำเล็กๆ ให้มีความยาวมากกว่าเดิมถึง 4 เท่า และยังคงคุณสมบัตินำไฟฟ้าได้ดี

นักวิทยาศาสตร์อธิบาย การนอนใน “ห้องที่เย็น” ช่วยให้เราสุขภาพดีได้อย่างไร

วันที่ 20 มี.ค. สื่อต่างประเทศรายงาน Christopher Winter ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ที่ Charlottesville Neurology & Sleep Medicine เผยแพร่บทความใน HuffPost ระบุว่าอุณหภูมิห้องนอนส่งผลอย่างมากต่อการนอนหลับ (ฝันดี) ของเรา

เขาเสนอว่า อุณหภูมิห้องที่เหมาะสมแก่การนอนหลับที่สุดอยู่ระหว่าง 15-19 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิสูงกว่า 23 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่า 12 องศาเซลเซียส จะทำให้เรานอนหลับไม่สบาย พลิกตัวตลอดทั้งคืน ที่เป็นเช่นนี้เพราะ อุณหภูมิของร่างกายจะเพิ่มขึ้นและลดลงตามธรรมชาติในช่วง 24 ชั่วโมง โดยค่าสูงสุดเกิดขึ้นในช่วงบ่าย ช่วงเวลาต่ำสุดประมาณ ตี5 หรือเช้ามืด การนอนหลับมักเริ่มเมื่ออุณหภูมิร่างกายของเราลดลง ดังนั้นห้องที่เย็นกว่าสามารถกระตุ้นให้เราหลับเร็วขึ้น

นอกจากนี้การนอนหลับกับระดับอุณหภูมิห้องยังส่งผลต่อความอ่อนเยาว์อีกด้วย โดยการศึกษาพบว่า การนอนในห้องที่อุ่นกว่า 21 องศาเซลเซียส ร่างกายของคุณจะหยุดยั้งการปล่อยเมลาโทนินซึ่งเป็นหนึ่งในฮอร์โมนต่อต้านริ้วรอยที่ดีที่สุดของร่างกาย เมื่อเราหลับ อุณหภูมิร่างกายของเราลดลง ร่างกายของเราจะปล่อยเมลาโทนินซึ่งจะทำให้ร่างกายเย็นลงเล็กน้อย และเมื่ออุณหภูมิร่างกายเย็นลง การปล่อยฮอร์โมนเจริญเติบโตฮอร์โมนคอร์ติซอล (ฮอร์โมนเกี่ยวกับความเครียด) ก็ลดลงเช่นกัน ถ้าเรานอนหลับไม่เพียงพอ เราจะตื่นขึ้นมาพร้อมคอร์ติซอลระดับสูง หมายความว่ามีโอกาสที่จะเกิดความเครียดหรือวิตกกังวลสูงตามไปด้วย

ผลการศึกษาหนึ่งพบว่าการนอนในห้องประมาณ 19 องศาเซลเซียส สามารถช่วยป้องกันโรคเมตาบอลิซึมบางอย่าง เช่นโรคเบาหวาน ผู้เข้าร่วมการศึกษาไม่เพียงเผาผลาญแคลอรี่มากขึ้นเมื่อตื่นขึ้น แต่ยังเพิ่มปริมาณไขมันสีน้ำตาลหรือไขมันที่ดีเป็นสองเท่า ช่วยให้ร่างกายสามารถเก็บแคลอรี่ได้น้อยลง เมื่อเวลาผ่านไปสิ่งนี้สามารถลดความเสี่ยงของโรคได้

จากนั้นจะบันทึกภาพหรือคลิปของเหยื่อไว้ นำมาข่มขู่เอาเงิน หากไม่ยินยอมจะขู่ว่าปล่อยคลิปดังกล่าวสู่สาธารณะ หรือส่งให้ภรรยา ผู้บังคับบัญชาหรือเพื่อนของเหยื่อ จนเหยื่อต้องจำใจโอนเงินไปให้คนร้ายเพราะไม่อยากเสื่อมเสียชื่อเสียง

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป